หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน การขยายโอกาสในการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในภาคเหนือมีมากขึ้น จนกระทั่งมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนภาษาญี่ปุ่นจำนวน 17 แห่ง โดยรวมมหาวิทยาลัยที่เปิดวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นจำนวน 9 แห่ง และสถาบันด้านญี่ปุ่นศึกษา 2 แห่ง
กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น เช่น การประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่นการประกวดการแสดงละครภาษาญี่ปุ่นบนเวที การประกวดร้องเพลงภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น ในอดีตมีการจัดที่กรุงเทพฯเพียงแห่งเดียว แต่ปัจจุบันได้เริ่มจัดกิจกรรมดังกล่าวในภาคเหนือแล้ว
เพื่อให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาในภาคเหนือมีมากยิ่งขึ้น โดยรวมถึงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาของแต่ละสถาบันการศึกษา ให้เกิดประโยชน์ต่อสถาบันที่สอนภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยที่เปิดวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นหรือจัดตั้งสถาบันด้านญี่ปุ่นศึกษา จำนวน 9 แห่ง ควรจจะจัดให้มีความร่่วมมือทางวิชาการและร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาตัวแทนของมหาวิทยาลัยทั้ง 9 แห่ง ยังไม่มีโอกาสเข้าร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นทางการ และยังไม่มีความต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อตอบสนองความจำเป็นดังกล่าว เห็นควรให้มีการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษาภาคเหนือโดยมีชื่อองค์กรว่า ศูนย์เครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือ
เป้าหมาย
การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาของแต่ละสถาบันในภาคเหนือ โดยรวมถึงการจัดประชุมและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็นให้เป็นประจำอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
สำนักงาน
สำนักงานของศูนย์เครือข่ายฯจะตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก
โครงสร้างและการบริหารของศูนย์เครือข่าย
จัดตั้งคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้แทนของแต่ละสถาบันซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์เครือข่าย ตั้งดำแหน่ง ประธาน รองประธาน และเลขานุการ
การจัดตั้งโครงการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551
ประกาศการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯวันที่ 1 มิถุนายน 2551
ปัจจุบัน การขยายโอกาสในการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในภาคเหนือมีมากขึ้น จนกระทั่งมีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนภาษาญี่ปุ่นจำนวน 17 แห่ง โดยรวมมหาวิทยาลัยที่เปิดวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นจำนวน 9 แห่ง และสถาบันด้านญี่ปุ่นศึกษา 2 แห่ง
กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น เช่น การประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่นการประกวดการแสดงละครภาษาญี่ปุ่นบนเวที การประกวดร้องเพลงภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น ในอดีตมีการจัดที่กรุงเทพฯเพียงแห่งเดียว แต่ปัจจุบันได้เริ่มจัดกิจกรรมดังกล่าวในภาคเหนือแล้ว
เพื่อให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาในภาคเหนือมีมากยิ่งขึ้น โดยรวมถึงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาของแต่ละสถาบันการศึกษา ให้เกิดประโยชน์ต่อสถาบันที่สอนภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยที่เปิดวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นหรือจัดตั้งสถาบันด้านญี่ปุ่นศึกษา จำนวน 9 แห่ง ควรจจะจัดให้มีความร่่วมมือทางวิชาการและร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาตัวแทนของมหาวิทยาลัยทั้ง 9 แห่ง ยังไม่มีโอกาสเข้าร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นทางการ และยังไม่มีความต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อตอบสนองความจำเป็นดังกล่าว เห็นควรให้มีการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นระดับอุดมศึกษาภาคเหนือโดยมีชื่อองค์กรว่า ศูนย์เครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือ
เป้าหมาย
การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาของแต่ละสถาบันในภาคเหนือ โดยรวมถึงการจัดประชุมและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็นให้เป็นประจำอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
สำนักงาน
สำนักงานของศูนย์เครือข่ายฯจะตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก
โครงสร้างและการบริหารของศูนย์เครือข่าย
จัดตั้งคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยผู้แทนของแต่ละสถาบันซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์เครือข่าย ตั้งดำแหน่ง ประธาน รองประธาน และเลขานุการ
การจัดตั้งโครงการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551
ประกาศการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายฯวันที่ 1 มิถุนายน 2551